คุณกำลังมองหาอะไร?

ครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

17.08.2561
344
0
แชร์
17
สิงหาคม
2561

โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558

โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558
( สรุปผลการดำเนินงาน 1 เมษายน 2558 ? 31 มีนาคม 2561 )
 
 
152938
 
         ดังเป็นที่ประจักษ์ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีคุณูปการอย่างหาที่สุดมิได้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและผู้ยากไร้ในชนบท ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานหลักที่ดูแลสุขภาพของประชาชนชาวไทยทุกช่วงชีวิต ได้ดำเนินงานโครงการต่างๆเพื่อสนองพระราชดำริมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 เพื่อเน้นการเฝ้าระวัง ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ตั้งแต่แรกเกิด - 5 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน 2558 - 31 มีนาคม 2561 ตั้งเป้าหมายให้เด็กไทยทุกคน ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้อง มีมาตรฐานอย่างเท่าเทียม จากพ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก ชุมชน และเจ้าหน้าที่ให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
   รัฐบาลไทยได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์สำหรับพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยตามช่วงวัยโดยให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงกลาโหม รวมถึงองค์กรหลักอื่นๆ และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับผิดชอบช่วยผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายเด็กปฐมวัยไปสู่การปฏิบัติให้เกิดสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งประสานความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเน้นให้ครอบครัวเป็นแกนหลักในการพัฒนาเด็กและให้ชุมชนและสังคมเป็นฐานที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการพัฒนาเลี้ยงดูเด็กทุกขั้นตอน ให้มีคุณภาพทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา เติบโตขึ้นเป็นคนไทยที่พึงประสงค์ เป็นทั้งคนดี คนเก่ง มีความสุข และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติ แต่สถานการณ์ปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย (0-5 ปี) ที่ผ่านมากลับพบว่า เด็กปฐมวัยร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 ของเด็กปฐมวัยในประเทศไทยมีแนวโน้มพัฒนาการล่าช้า1 โดยเฉพาะด้านการใช้ภาษา รองลงมาคือการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งทักษะทั้งสองด้านเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาสมองและจะส่งผลต่อการเรียนรู้ต่อไป และจากการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กไทยของกรมสุขภาพจิต พ.ศ. 2559 ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่ 98.23 (เป้าหมายที่100)2 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทยให้สมวัยเกิดเป็นรูปธรรมชัดเจน และเป็นระบบอย่างยั่งยืน ปี 2552 กรมสุขภาพจิต โดยสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ ภายใต้การแนะนำของท่านอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.วัลลภ ไทยเหนือ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านพัฒนาการเด็กของประเทศไทยพัฒนาแบบประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด -5 ปี และได้นำแบบประเมินนี้มาหาค่าเกณฑ์ปกติของพัฒนาการเด็กแรกเกิด -5 ปีของไทยครั้งแรกทั่วประเทศ และทดลองใช้ พร้อมทั้งได้ขยายผลไปในเขตบริการสุขภาพที่ 1 ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยดำเนินงาน "โครงการบูรณาการพัฒนาการเด็กล้านนา (Lanna Child Development Integration Project; LCDIP)? เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังคัดกรอง ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก รวมถึงการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข โดยเน้นให้ พ่อแม่ผู้ปกครอง สามารถเฝ้าระวัง ส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้มากที่สุด และพัฒนาความรู้ของ อสม. ให้ช่วยดูแลเด็กที่อยู่ในความรับผิดชอบของปู่ย่า ตายาย ขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขดำเนินการคัดกรองพัฒนาการเด็ก โดยครอบคลุมทั้งเด็กปกติและเด็กกลุ่มเสี่ยง Birth Asphyxia หรือ Low Birth Weight และในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุข ได้นำเครื่องมือดังกล่าวมาประกาศใช้ทั่วประเทศ ร่วมกับบูรณาการกับทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย โดยเน้นย้ำการสื่อสารความรู้ สร้างกระแสและความตระหนักให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นถึงความสำคัญในการคัดกรอง ส่งเสริม ค้นหา ติดตาม ดูแลเด็กทั้งเด็กปกติและเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าให้ได้รับการดูแลแบบครบวงจร
เผยแพร่โดย สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
 
 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน